Happy Workplace ในแบบของนักโลจิสติกส์ | ดร.ปิยะนุช สัมฤทธิ์ นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย

17/10/2022 คลังความรู้, บทความ 1,361
Share:

 

“เราเชื่อว่าความสุขที่เกิดจากคนหนึ่งคนจะทำให้องค์กรนั้นมีความสุของค์กรนั้นผลิตอะไรขายหรือทำบริการมีบริการให้กับลูกค้าสิ่งที่ส่งมอบออกไปมันจะคือคุณค่าที่ยิ่งใหญ่และความยั่งยืน”

 

ดร.ปิยะนุช สัมฤทธิ์ นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย/ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร วีมูฟ แพลตฟอร์มเชื่อมระหว่างผู้ประกอบการขนส่งกับลูกค้า / อดีตผู้บริหารรุ่นที่ 2 ของธุรกิจครอบครัวนิ่มซี่เส็งขนส่ง

 

จุดเริ่มต้นของความสนใจเกี่ยวกับ Happy Workplace

อาชีพขนส่งเกี่ยวพันกับการใช้ชีวิตของผู้คน

 

ด้วยความที่ตัวเองเติบโตมาในธุรกิจที่ครอบครัว ผูกผันกับคนที่อยู่ในอาชีพขนส่งสินค้าทุกระดับชั้น เราก็เห็นว่าจริงๆอาชีพของพวกเราในสังคมผู้คนก็บอกว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญ เพราะว่าเกี่ยวพันกับวิถีชีวิต การใช้ชีวิตของคน โดยเฉพาะในปัจจุบัน และสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา พวกเราทุกคนจะสร้างความปลอดภัยด้วยตนเองโดยการอยู่บ้าน Work From Home ล็อคตัวเอง แต่ว่ามีอาชีพหนึ่งที่จะต้องออกไปดูแลผู้คน นั่นก็คือ อาชีพขนส่ง 
เราก็มองว่าอาชีพของเรามีความสำคัญกับผู้คน สำคัญกับภาคการค้า ภาคธุรกิจ ภาคการเกษตร และในอีกหลายๆภาคส่วน และก็มองว่าคนที่อยู่ในสายอาชีพเราเขามีความสุขไหม แล้วครอบครัวพวกเขามีความสุขไหม ลูกค้า หรือคนที่อยู่รอบๆข้างเรา สังคม คนที่อยู่บนถนน ใช้ถนนร่วมกับเรามีความสุขไหม ก็เลยเป็นเหตุผลว่าเราจะทำยังไงเพื่อทบทวนเรื่องราวเหล่านี้ และมั่นใจว่าคนที่ทำอาชีพที่มีความสำคัญเขามีความสุขที่เขาทำจริงๆ

 

ปัญหาด้านสุขภาวะของคนทำงานในธุรกิจด้านการขนส่ง

คนทำงานดับความทุกข์ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง

 

เราเข้าใจว่าในอาชีพนี้มีความเครียดสูง ทำงานค่อนข้างหนัก พักผ่อนไม่เป็นเวลา ช่วงวันหยุด เทศกาลต่างๆทุกคนจะได้อยู่กับครอบครัว ได้พักผ่อน ยิ่งอาชีพเราเป็นอาชีพเดียวที่ไม่สามารถหยุดได้ ยิ่งเทศกาลที่คนกำลังท่องเที่ยว กิน ใช้ เราจะเป็นอาชีพที่ห้ามหยุด ถ้าเราหยุดเขาจะไม่มีของบริโภค กิน ใช้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราสังเกตเห็นคือในความเครียด และ การทำงานหนักของเขา และพฤติกรรมในการทำงานที่ไม่เป็นเวลา เราเห็นว่าเขาแก้ปัญหาหรือดับความทุกข์ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการดื่มสุรา มากพอสมควร สูบบุหรี่ เล่นการพนัน มีทางออกต่างๆนาๆที่เขาคิดว่าจะสร้างความสุข ก็ไม่ผิด แต่มองว่าเป็นการสร้างความสุขระยะสั้น ไม่ใช่ระยะกลางและยาว และเป็นการสร้างความสุขในเฉพาะตัวเอง แต่เป็นทุกข์กับคนรอบข้าง กับครอบครัว กับสังคม กับหัวหน้างาน อาจจะมีผลกับอาชีพของเขาในต่อๆไป ถ้าเขาสุขกับเรื่องนั้น แล้วเขาเลิกสุขไม่ได้ กลายเป็นปัญหาเรื้อรังในเชิงสุขภาวะในระยะยาว อยากจะทำเรื่องนี้มากๆค่ะ

 

การดำเนินโครงการเพื่อสร้าง Happy Workplace ให้กับองค์กรสมาชิก

สถานที่ทำงานส่วนใหญ่อยู่บนรถ ทำอย่างไรให้พวกเขามีความสุขได้ 

 

ในสมาคมขนส่งสินค้าหรือโลจิสติกส์ของเราเรียกว่า TTLA เรามีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 250 องค์กร ซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งภายใต้ของกรมการขนส่งทางบก และมีเครือข่าย ที่เป็นกลุ่มสมาคมเครือข่าย ที่อยู่ภายใต้สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ซึ่งมีทั้งสิ้น 10 สมาคม เรามีกลุ่มรถบรรทุกที่อยู่ในเครือข่ายเรา ประมาณ30,000 คัน และในเครือข่ายเกือบ 400,000 คัน ดังนั้น ในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางถนนของเรา มีจำนวนบุคลากรไม่ต่ำกว่า 1,000,000 กว่าคน ถ้าทำให้คนในอุตสาหกรรมเรามีความสุขได้ เราเชื่อว่าคุณภาพการบริการ การดูแลลูกค้าขององค์กรก็จะดี 

 

เราเชิญชวนให้สมาชิกของที่สนใจมาเข้าร่วม 50 องค์กร ตั้งใจจะสร้างนักสร้างสุขจำนวน 100 ท่าน เพื่อสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ถึงสุขภาวะองค์กรอย่างแท้จริง และหวังให้เขาไปต่อยอด หลังจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญ 
ที่ปรึกษาที่มีความชำนาญในเรื่องนี้  เข้าไปดูแลแต่ละสถานประกอบการ นอกจากนี้ยังแถมด้วยการอบรมพนักงานขับรถให้มีการขับขี่ปลอดภัย และ มีความสุข เพราะว่าพนักงานเหล่านี้ไม่ค่อยได้อยู่ในออฟฟิศ ชีวิตของเขาอยู่บนรถบรรทุกเป็นส่วนมาก สถานที่ทำงานของเขาคือบนรถ ระหว่างทางจะทำยังไงให้คนเหล่านี้มีความสุขได้ สุดท้ายเราถอดบทเรียนเพื่อเรียนรู้ถึงความสำเร็จ เพื่อที่จะนำโครงการเหล่านี้ไปต่อยอด ไปพัฒนารูปแบบในการทำความสุขเหล่านี้ให้เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็หาแพลตฟอร์มใหม่ๆในการจะสื่อสารที่จะtouchกับคนในวงการที่ดียิ่งๆขึ้นไปค่ะ

 

Happy Workplace ในแบบของ We Move

ความสุขที่เกิดจากคนหนึ่งคนจะทำให้องค์กรนั้นมีความสุของค์กร

 

เราคงจะได้ยิน start up หลายหลายบริษัทที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่ว่าจะเป็น facebook หรือ google ที่เริ่มจากคนในองค์กรเป็นจำนวนไม่มากแต่เขามีระบบการทำงานมีความสุขจากการทำงาน แม้ว่าจะทำงานหนัก แต่เขามีความสุขกับสิ่งที่ทำ สร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ให้โลกใบนี้ได้ ย้อนกลับมาวีมูฟแพลตฟอร์มเราเป็นบริษัทstart up เราก็สร้าง culture การทำงานที่แบบเราไม่ได้มีกติกาในการที่จะต้องแบบสแกนนิ้วเข้าออก ทุกคนมีความรับผิดชอบในตนเอง มีวินัย สิ่งที่เราจะทำให้ทุกคน คือแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุดมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้ได้มากที่สุดสิ่งสำคัญปัจจัยความสำเร็จของมันก็คือการที่มาทำงานอย่างมีความสุขเขารักในงานรักในตำแหน่งงานที่ทำเขามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะ deliver ผลงานของเขาให้ดีไปเรื่อย ๆ 

 

สิ่งที่ทำคือ ไม่สร้างกติกาในการทำงาน ให้เขารับผิดชอบตัวเองสร้างบริบทความสุขให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ นั่งทำงานด้วยกัน นั่งตรงไหนก็ได้ มีสวัสดิการอาหารกลางวัน มีกาแฟ และเครื่องดื่มที่เสิร์ฟให้ มีวันครอบครัว 2สัปดาห์ 1 ครั้ง เพื่อให้พนักงานแต่ละทีมคิดเมนูอาหารแล้วก็ให้ budget ไปจัดการมาเพื่อกินด้วยกันใน
วันครอบครัว จะมีจัดกิจกรรม outing บ้างตามสมควร เพื่อให้มีความรู้สึก engage กับองค์กร เรามี hr morning talk ทุกสัปดาห์เพื่อให้ฝ่าย HR ได้พบปะพูดคุยส่วนตัวกันกับพนักงาน

 

ด้วยบริษัทของเรา มีคนจำนวนไม่มาก การดูแลค่อนข้างทั่วถึงและไม่ค่อยยาก แต่อาจจะเป็นการท้าทายสำหรับองค์กรที่มีจำนวนคนมาก ว่าจะทำอย่างไรให้คนทุกคนซึ่งมีความสำคัญเห็นความสำคัญเห็นคุณค่าตัวเองแล้วเขาอยากจะทำงานให้องค์กร และทำงานด้วยความสุขเพราะเราเชื่อว่าความสุขที่เกิดจากคนหนึ่งคนจะทำให้องค์กรนั้นมีความสุของค์กรนั้นผลิตอะไรขายหรือทำบริการมีบริการให้กับลูกค้าสิ่งที่ส่งมอบออกไปมันจะคือคุณค่าที่ยิ่งใหญ่และความยั่งยืนก็จะมาความยั่งยืนในเชิงธุรกิจก็จะมาแล้วพนักงานก็ไม่อยากจะเปลี่ยนงาน

ปัจจุบันการเปลี่ยนงานเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมากเหตุผลหนึ่งคือพนักงานจะเปลี่ยนงานเพราะไม่มีความสุขในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องเงิน คนมักจะมองว่าที่ไหนให้เงินเยอะแล้วคนจะไป จริงๆแล้วไม่ใช่ ต่อให้ที่ไหนที่ให้เงินไม่เยอะแต่ให้ความสุขเขามากเพียงพอพนักงานจะยังอยู่เพราะฉะนั้นเราเริ่มเข้าใจสุขภาวะองค์กรกันตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อรักษาคนที่เรารักไว้ให้ทำงานกับองค์กรเรานานนานคิดว่าสิ่งนี้สมาคมสิ่งที่ช่วยได้ สสส สนับสนุนสมาคม แล้วสมาคมก็จะช่วยสมาชิกและคนในเครือข่ายของสมาคมก็เลยทำเรื่องนี้

 

 

วิธีสร้าง work life balance ให้ตัวเอง

การทำงานความหมายที่ดีที่สุดคือการตั้งใจ มีความสุขกับสิ่งที่ทำ

 

แม้คนรอบ ๆ ข้างจะมองว่าเป็นคนที่ทำงานหนักมากจริง ๆ แล้ว อยากจะบอกว่าเป็นคนที่ Work hard play harder entertainment hardest แต่อาจเป็นคนที่ค่อนข้าง management ได้ดี เป็นคนที่มีวินัยตอนทำงานจะโฟกัสกับสิ่งที่ทำอย่างเต็มที่ จะพยายามใส่สุดพลัง เพราะฉะนั้นหลาย ๆ คนค่อนข้างที่เป็นห่วงกังวลว่าใส่หมวกหลายใบ ปัจจุบันมาเป็น start up ก็ challenge แล้ว เป็นงานที่หนักเพราะออกมาทำคนเดียวแล้วก็ทำงานในภารกิจของนายกสมาคมด้วย มีหน่วยงานในองค์กรไหนที่อยากจะให้ไปช่วยก็ไปหมดเลย

 

ถ้าเรามีความสุขกับสิ่งที่ทำมันก็คือการพักผ่อนด้วย กลับกันหากเราไม่สนุก หรือไม่สุขกับสิ่งที่เราทำ เรานั่งประชุมเราก็เหนื่อย แต่ถ้าเรานั่งประชุมแล้วเราแสดงความเห็นในที่ประชุมในสิ่งที่เรารู้สึกว่าเราตื่นเต้น เราได้ทำ เราได้พูด เราได้แสดงความคิดเห็น เราได้ช่วยใครสักคนก็เหมือนการได้พักผ่อนไปด้วย

 

ในชีวิตส่วนตัวมิติอื่นของครอบครัวนุชมีเวลาที่จะดูแลครอบครัวทั้งคนข้างกายและลูกๆ ถ้าให้คะแนนก็ให้ตัวเอง 9 เต็ม 10 เพราะถือว่าเป็นครอบครัวที่อบอุ่นมีเวลาให้กันและกันอย่างเพียงพอ และในมิติของเรื่องสุขภาพ 
ทุกครั้งที่มีเวลาจะพกชุดออกกำลังกาย ไว้กับตัวเองเสมอ หลังจากเสร็จงานมีเวลาชั่วโมงหรือครึ่งชั่วโมงระหว่างทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เนื่องจากเป็นนักโลจิสติกส์ เราก็ต้องดูแล้วว่าระหว่างทางที่เราต้องเดินทางไปงานเลี้ยง หรืองานอะไร มีสถานไหนที่เราพอจะออกกำลังกายได้ ก็จะแวะออกกำลังกายครึ่งชั่วโมง 40นาที ทำแบบนี้เป็นประจำอาจจะไม่ได้ทำทุกวันแต่อย่างน้อย 3-4วันต่อสัปดาห์ 

 

ถือว่าเราได้ตอบแทนตัวเอง การตอบแทนตัวเองที่ดีที่สุดคือการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทานอาหารที่ดีแล้วก็ยิ้มบ่อย ๆ ได้หัวเราะ ได้อยู่กับคนที่มีความสุขคนที่มีทัศนคติเชิงบวก สำหรับตัวเองก็มีความสุขมากแล้ว
มี work life balance ที่ดี พยายามทำให้คนในองค์กรมีวิธีคิดที่คล้ายๆกับตัวเอง แล้วนำแนวทางที่ปฏิบัติไปใช้กับตัวเขาเองมักจะบอกกับเด็กๆเสมอว่าการทำงานหนักไม่ใช่หมายถึงว่าคุณใช้เชิงปริมาณ ไม่ใช่การอดหลับอดนอนคือการทำงานหนัก แต่การทำงานความหมายที่ดีที่สุดคือการตั้งใจ ใช้เวลา 2 ชั่วโมงมีค่ามากกว่าการนั่งทำงาน 20 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้ตั้งใจเพราะฉะนั้นถ้าตั้งใจทำงานที่ดีใช้เวลาที่เหมาะสมเราจะมีเวลาที่เหลือที่จะดูแลครอบครัวดูแลตัวเอง ดูแลคนที่เรารักหรือคนรอบข้าง หลักๆแล้วคิดว่าอยู่ที่วิธีคิด และ วิธีการจัดสรร

 

บริหารจัดการความเครียดอย่างไร

empathy คนอื่น รอยยิ้มช่วยหยุดความเครียดได้ 

 

เป็นคนที่เศร้าเร็วจบเร็ว หมั่นฝึกตัวเอง โดยเลือกที่จะคุยกับคนที่มีทัศนคติเชิงบวกมาก ๆ มักจะให้เขาแบ่งปันว่าคิดยังไงให้ออกจากปัญหา คิดยังไงให้ตัดความรู้สึกแบบไม่ชอบคน ๆ นี้ เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนคนอื่นได้ เราไม่พอใจเราบ่นได้แต่เราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ วิธีการที่ดีที่สุดคือเราเปลี่ยนวิธีคิดเรา เราเข้าใจเขา เมื่อก่อนนุชไม่เข้าใจทฤษฎีนี้พยายามจะเอาชนะคนทุกคนที่มีความเห็นไม่เหมือนเรา แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แบบนั้น เพิ่งมาเปลี่ยนได้ไม่กี่ปี
มีศัพท์คำหนึ่ง คือ empathy เราเข้าใจว่าทำไมเขาถึงเป็นแบบนี้ ทำไมเขาทำแบบนี้ เมื่อเราเข้าใจแทนที่จะโกรธหรือเกลียดเขา เรากลับมีรีแอคต่างกัน กลับพยายามช่วยเหลือเขา ค่อย ๆ ฟัง แล้วพยายามช่วย กลายเป็นแทนที่เราจะมีศัตรูเพิ่มหนึ่งคน เป็นมีเพื่อนรักอีกหนึ่งคน

 

เป็นคนที่ผลลัพธ์ชัดเจนที่จะเคลียร์และทำงานเต็มที่แต่เวลาพักก็จะพักที่สุดเหมือนกัน ก็พยายามฝึกตัวเอง
ทัศนคติพยายามฝึกคิดบวกพยายามเข้าใจคนอื่นแล้วก็ยิ้มให้มากเจอใครก็ยิ้ม รอยยิ้มมันจะทำให้เราหยุดตัวเอง แทนที่เราจะหน้าบูดเราก็ยิ้มซะเหมือนในใจเราก็กำลังยิ้มอยู่ก็จะหยุดตัวเองบางอย่างก็จะช่วยได้ ของแบบนี้ต้องฝึกทักษะเกิดจากการฝึกฝนบ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นนิสัย