Reverse mentorship เทคนิคพี่เลี้ยงย้อนกลับ ฉบับน้องสอนพี่

07/03/2023 Happy Brain 2,459
Share:

สังคมการทำงานยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป เด็กยุคใหม่ gen Z เริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น เป็นสิ่งที่สร้างความท้าทายให้กับคนที่อายุมากกว่าในองค์กร ความหลากหลายวัยในองค์กรสามารถทำให้เกิดเป้าหมายในการทำงาน หรือแนวคิดต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างวัยในการทำงาน ดังนั้น จึงได้มีการทดลองนำแนวคิด Reverse mentorship มาปรับใช้กับองค์กรเพื่อลดช่องว่างของ generation ในการทำงาน

 

Reverse mentorship คืออะไร ?

Reverse mentorship คือแนวคิดของระบบการทำงานแบบย้อนกลับหรือเรียกว่าการเป็นพี่เลี้ยงแบบกลับด้าน นั่นก็คือ ให้เด็กรุ่นใหม่ที่มีอายุน้อย ได้ลองมีโอกาสแนะนำในมุมมองของคนรุ่นใหม่ให้กับหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานที่มีอายุมากกว่าในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีต่าง ๆ การใช้ social media ควบคู่กับการทำงาน หรือ การทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ อาทิเช่น การแนะนำงานให้ผู้ที่สนใจเข้ามาชมผ่านทาง Tiktok โดยการทำเป็นคลิปสั้น ๆ ที่ทำให้เข้าถึงได้ง่าย และ ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น หรือ แนะนำการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีประโยชน์

 

แนวคิดนี้ถือว่าเป็นอีกโจทย์ของคนที่อายุมากกว่าในองค์กรที่จะต้องลองปรับตัวเพื่อจัดการให้คนที่อายุมากกว่าเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ ๆ จากคนที่อายุน้อยกว่า ให้มีเป้าหมายในการทำงานในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมีทริคเล็ก ๆ ที่จะต้องเตรียมพร้อมก่อนที่จะนำแนวคิด Reverse mentorship มาใช้กับองค์กร นั้นก็คือ

  • การตั้งเป้าหมายต่อการนำแนวคิด Reverse mentorship มาใช้อย่างชัดเจน
  • เช็คความพร้อมของทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้คำปรึกษาและผู้ปรึกษาเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
  • กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนเพราะจะทำให้มองเห็นถึงเป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น
  • สนับสนุนให้ทั้งสองฝ่าย แสดงความคิดเห็นต่อกัน
  • มีการจัดประชุมเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าอยู่เสมอ

 

แม้เมื่อก่อนคนที่มีอายุมากกว่า มักต้องเป็นผู้ให้ความรู้แก่คนที่อายุน้อยกว่าในองค์กรเพราะถือว่ามีอายุงานมากกว่าจะถูกมองว่ามีประสบการณ์ที่มากกว่า แต่ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กรุ่นใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ซึ่งพวกเขามีความยืดหยุ่นในการทำงาน กล้าคิด กล้าแสดงออกกับเรื่องต่าง ๆ มีแนวคิดใหม่ ๆ เป็นของตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่คนที่อายุมากกว่าจะสามารถศึกษาจากเด็กรุ่นใหม่ได้

 

พื้นฐานความเข้าใจและเคารพซึ่งกันและกันซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในทุก ๆ สังคมไม่ว่าจะอายุมากน้อยเพียงใดก็ควรที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับสิ่งใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามโลกที่หมุนอยู่เสมอ การรับฟังในมุมของคนที่อายุน้อยกว่าไม่ใช่ว่าเราโตแล้วทำไมต้องคอยให้เด็กมาสอน การแลกเปลี่ยนความเห็น การเรียนรู้ระหว่างช่วงวัยจะทำให้งานของเราออกมาดี มีประสิทธิภาพ ทันสมัยตามยุคมากขึ้น การไม่มีอีโก้ กับพนักงานหรือเพื่อนร่วมงานนั้นยังจะทำให้เกิดบรรยากาศของความสุขในองค์กรเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

แหล่งที่มา

https://futuretrend.co/reverse-mentorship/