คืนชีวิตใหม่ให้การทำงานในปี 2023

27/01/2023 Happy8workplace 2,513
Share:

ภายหลังจากการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการทำงานคือ กระแสการลาออกครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ดังนั้นในการเริ่มต้นขึ้นปีใหม่จึงมีความร่วมมือหาคำตอบว่ามีทางใดบ้างที่จะช่วยสร้างโอกาสในการฟื้นฟูชีวิตใหม่ในการทำงาน ในปี 2023

 

จากการลาออกครั้งใหม่สู่การคืนชีวิตใหม่ ให้การทำงานในปี 2023

ถ้าหากมองทั้ง 2 ฝั่ง ระหว่างฝั่งของพนักงานและฝั่งนายจ้าง สำหรับฝั่งของพนักงาน ทำให้เห็นถึงปัญหาของการลาออกครั้งใหญ่นี้ได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่มีความสุขกับการทำงาน ต่อให้มีเงื่อนไขที่ดีแค่ไหนมาเสนอ พวกเขาก็เลือกที่จะปฏิเสธรับเงื่อนไขเพื่อแลกกับการตกอยู่ในสภาพนั้นๆ จากผลการรายงานพบว่าถึงแม้จะมีตำแหน่งงานที่พวกเขาสนใจว่างอยู่ก็ตาม แต่พวกเขาก็มั่นใจที่จะมองหาตัวเลือกในทางอื่นได้ง่ายและไวกว่า จากผลสำรวจโดย Limeade ในปี 2021 ในสหรัฐอเมริกาพบว่า 28% ของพนักงานลาออกจากที่เดิมโดยยังไม่มีงานใหม่รองรับ ทำให้เห็นได้ชัดว่าพนักงานเป็นกุญแจสำคัญในการลาออกครั้งใหญ่ และ การตระหนักรู้ครั้งสำคัญ (The Great Realization) เพราะพวกเขาเลือกที่จะมองหาทางเลือกอื่น ๆ มากขึ้นและยังพบว่า 51 ล้านคนที่ทำงานอิสระ มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข และมีความมั่นคงทางการเงินมากกว่าเพื่อนร่วมงานที่ทำในระบบเดิม

 

และเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นแน่นอนว่าพนักงานหลายกลุ่มก็ได้รับผลกระทบจากกระแสนี้ทั้งในด้านลบและบวกไปเลย ซึ่งสำหรับอนาคตในปี 2023 แต่ละกลุ่มก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในรูปแบบการทำงานของตัวเองซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

 

กลุ่มที่มีการทำงานแบบชั่วคราว (Gig Worker) ก็ถูกคาดเดาว่าจะมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นถึง 445 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้การทำงานกลุ่มนี้จะมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจ แต่ทุกวันนี้ยังมีทรัพยากรมืออาชีพและการสนับสนุน ซึ่งเป็นช่องว่างของแบรนด์และงานบริการ

 

กลุ่มพนักงานในสถานที่ทำงาน (Onsite Worker) ถือว่าเป็นตัวหลักของที่ทำงานเลยก็ว่าได้ ซึ่งตลอดระยะที่มีการระบาดของCovid-19 จากที่เข้าทำงานประจำในสถานที่ทำงานก็ต้องปรับเป็น Work From Home จึงทำให้มีเรื่องของสุขภาพจิตเข้ามาเกี่ยวด้วย ทั้งร่างกายและอารมณ์นั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ความยืดหยุ่นในการทำงานอาจเป็นไปได้ยาก ดังนั้นสิทธิประโยชน์ต่างๆ จะเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยรักษาพนักงานกลุ่มนี้ไว้

 

กลุ่มทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Worker) รายงานจาก Harvard Review ระบุว่า มากกว่า 90% ของผู้จ้างมีการปรับแผนงานให้เป็นการทำงานแบบผสมผสานให้กับกลุ่มำนักงานที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในปี 2022 เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้น มีทั้งแรงผลักดันและดึงให้กลับสู่การทำงานในออฟฟิศ ผู้จ้างงานต้องสร้างความสมดุลควบคู่ระหว่างการทำงานและวัฒนธรรมในที่ทำงาน กับความความหวังในการทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น

 

ในฝั่งนายจ้าง ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบระยะยาวกับการทำงาน นายจ้างก็ต้องหาวิธีที่ตอบสนองต่อลำคับความสำคัญและความต้องการของเหล่าพนักงาน เช่น การดูแลลูก ๆ หรือ ผู้สูงอายุ ไปพร้อม ๆ กับการทำงาน หรือเรื่องของความเครียดในการทำงาน จากการสำรวจข้อมูล ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของพนักงานและนายจ้างนั้นคือ การกำหนดเป้าหมายและให้คำสัญญาเป็นสิ่งที่บริษัทต้องมีการใส่ใจถึงประเด็นต่าง ๆ และปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานโดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น ไปจนถึงเรื่องของการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การที่บริษัทมีเป้าหมายที่แน่ชัดจะทำให้เหล่าพนักงานรู้สึกถึงความมั่นคงในการทำงานของตัวเอง และเชื่อถือที่จะให้ความไว้ใจกับบริษัท

 

การเกิดกระแสการลาออกครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้น แสดงให้เห็นถึงการคืนชีวิตใหม่ในการทำงาน เมื่อเลือกที่จะก้าวออกมาจากจุดนั้น ทุกคนก็มักจะหาสิ่งที่ดีกว่าเดิมให้กับตัวเอง เรื่องของความยืดหยุ่นในการทำงาน หรือ สิ่งแวดล้อมขององค์กร ไปจนถึงเรื่องของการทำงานร่วมกัน และ ปัญหาส่วนตัวเช่นครอบครัวหรือสุขภาพของตัวเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้น พนักงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญกับองค์กร ถ้าหากขาดพวกเขาไป ก็เหมือนขาดชิ้นส่วนที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จได้ การให้ความสำคัญกับคนในองค์กรก็ถือว่าเป็นสิ่งที่นายจ้างควรจัดวางไว้เป็นลำดับต้น ๆ ของการทำงานที่ห้ามละเลยโดยเด็ดขาด

 

ที่มา 

E-book เจาะเทรนด์โลก 2023 TCDC

https://www.tcdc.or.th/.../resour.../e-book/33686-Trend-2023