3 Mindset ทักษะจำเป็นของคนทำงาน

27/01/2023 Happy8workplace Happy Brain 13,942
Share:

โลกการทำงานในยุค Digital Transformation ที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถูกสร้างขึ้นตลอดเวลา

ประกอบกับการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีกว่าที่ผ่านมา

ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องขยับปรับตัวกันขนานใหญ่ องค์กรที่สามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เท่านั้น ถึงจะสามารถอยู่รอดต่อไป นอกจากเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้ว คนทำงานในองค์กรก็จำเป็นต้องพัฒนาด้วยเช่นกัน และ Mindset ซึ่งคนทำงานควรต้องมี ได้แก่

 

1. Growth Mindset

เป็นความเชื่อ เป็นวิธีคิดที่ว่าความสามารถของนั้นเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างไม่มีขีดจำกัด มีความยืดหยุ่นในกระบวนการความคิด และ ไม่ยึดติดอยู่กับปัญหาอุปสรรค ซึ่งตรงข้ามกันกับ Fixed Mindset ที่เชื่อว่าความสามารถ ความฉลาด เป็นของตายตัว ไม่สามารถพัฒนาต่อได้ด้วยตัวเอง ใครมีก็จะมี ใครไม่มีก็จะไม่มี คนที่มี Fixed Mindset มักจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่นำไปสู่ความล้มเหลว แต่ในขณะที่คนมี Growth Mindset จะเรียนรู้จากการล้มเหลวเพื่อพัฒนาต่อไป แล้วจะสร้าง Growth Mindset ได้อย่างไร

  • เริ่มที่ความเชื่อการสร้างความเชื่อว่าเราจะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการสร้าง Growth Mindset เพราะถ้าเราไม่เชื่อว่าเราทำได้ หรือทีมเราจะทำได้ เราก็จะติดกับดักในความคิดแบบ Fixed Mindset ทำให้ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้
  • โฟกัสและทำอย่างต่อเนื่อง การฝึกฝนเพื่อพัฒนาตัวเองจะเกิดขึ้นได้เมื่อเราทุ่มเทแรงกายแรงใจโฟกัสไปที่งานนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งนี้เป็นกระบวนการสำคัญในการสร้าง Growth Mindset
  • เรียนรู้ตลอดเวลาการเรียนรู้ถือเป็นหัวใจของ Growth Mindset สมองของมนุษย์เรามีการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงเพื่อให้อยู่รอดตลอดชีวิต ซึ่งทำให้คนเราเรียนรู้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งสำคัญอีกอย่างในการเรียนรู้คือ การมุ่งเป้าไปที่ตัวงานและความสำเร็จของงาน มากกว่าการเรียนรู้ที่เน้นไปที่การแข่งขันกับคนรอบข้าง
  • เลือกงานที่ยากถ้าคุณมีโอกาสเลือก ให้เลือกงานที่ท้าทายไว้ก่อน เพราะงานที่ยากจะดึงศักยภาพของคุณออกมา จุดอ่อนของ Fixed Mindset คือการ Play Safe เพราะกลัวความผิดพลาด การอยู่แต่ในพื้นที่ปลอดภัยด้วยการทำแต่งานที่ง่ายจะทำให้พัฒนาตัวเองได้ยาก ดังนั้นการเลือกงานที่ยากจะทำให้เราพัฒนาตัวเองได้อย่างก้าวกระโดด เพราะเราได้เรียนรู้ความผิดพลาดด้วยตัวเอง ซึ่งนั่นจะทำให้เราเลิกกลัวความล้มเหลว สิ่งนี้เองจะสร้างทัศนคติแบบ Growth Mindset ได้เป็นอย่างดี
  • เปิดใจกับ Feedback เพราะ Feedbackที่ตรงไปตรงมาจะทำให้เราพัฒนาตัวเองได้ดี เพราะทำให้เราได้เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง สิ่งสำคัญคือทัศนคติต่อ Feedback ในทางลบ การเปิดใจต่อคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นจะช่วยเปลี่ยนแปลงความรู้สึกท้อแท้ที่เกิดจากคำติเตียนเหล่านั้น มาเป็นความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปอย่างถูกทิศทาง
  • มองหากลยุทธ์ใหม่ๆ ไม่มีกลยุทธ์หรือยุทธวิธีใด ๆ ที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ การมองหากลยุทธ์และเลือกใช้ยุทธวิธีใหม่ ๆ จึงเป็นเรื่องดีในการพัฒนาตัวเองให้มีความยืดหยุ่น คนที่มี Growth Mindset จะสามารถใช้กลยุทธ์ได้หลากหลายวิธี เพราะมีทัศนคติที่เปิดกว้าง ไม่ปิดกั้นสิ่งใหม่ ๆ
  • เรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่นจุดอ่อนของ Fixed Mindset คือความคิดที่ว่าการประสบความสำเร็จของผู้อื่นนั้นบั่นทอนความรู้สึกของตัวเอง การสร้างให้เกิด Growth Mindset คือการมองหาแรงบันดาลใจ (Inspiration) จากคนรอบข้าง ชื่นชม และเรียนรู้จากความสำเร็จของผู้อื่น

 

2. Outward Mindset

คือการเปลี่ยนมุมมองจากที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับผู้อื่นไม่น้อยไปกว่าความสำคัญต่อตัวเราเองเป็นการมองในมุมของคนอื่น การปรับเปลี่ยน Mindset จึงเปรียบเสมือนการปรับเปลี่ยนเลนส์ในการมองโลก

มองตัวเรา และมองคนอื่น เป็นตัวสะท้อนทัศนคติที่ดี ซึ่งจะนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่ดี ที่ทำให้เราสามารถใช้ชีวิต

ไลฟ์สไตล์ และการทำงานได้อย่างเป็นสุขในทุกสถานการณ์

ยกตัวอย่างเช่น หากมีหัวหน้าที่มี Outward Mindset เขาจะมองลูกน้องทุกคนเป็นคนที่มีความต้องการและเป้าหมายชีวิตที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าของตัวเอง ส่งผลให้การแสดงออกที่เต็มไปด้วยความหวังดี ที่อยากให้เขาพัฒนายิ่งขึ้นหรือก้าวผ่านปัญหาต่างๆ ได้จริงๆ ช่วยให้ลูกน้องพัฒนาศักยภาพหรือพร้อมทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างเต็มใจและใช้ความสามารถได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมีความสุข

อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ได้กล่าวถึงคีย์เวิร์ดสำคัญของ Outward Mindset คือ S.A.M. ซึ่งย่อมาจาก

  • See Others เริ่มจากทำความเข้าใจความต้องการของคนอื่น รวมถึงเป้าหมายและความท้าทายของเขา
  • Adjust Efforts กลับมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อช่วยเหลือให้เขาบรรลุเป้าหมาย
  • Measure Impact ประเมินว่าความพยายามของเราเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น และไม่ศูนย์เปล่า

ทั้งนี้ วิธีดูง่าย ๆ ว่า เรามีกระบวนการคิดแบบ Outward Mindset หรือยัง ให้ลองสังเกตว่าตัวเรารู้เป้าหมายการทำงานของเพื่อนร่วมทีมหรือยัง ? เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลกับเพื่อนในทีมหรือไม่ ? หากเราเข้าใจเป้าหมายของคนในทีมและองค์กร มองความสำเร็จของ “พวกเรา” ไม่น้อยไปกว่า “ตัวเรา” นั่นก็แปลว่า เราเป็นคนที่มี Outward Mindset และเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นเรื่องง่ายขึ้น

 

3. Agile Mindset

คือแนวคิดการบริหารจัดการโลกการทำงานที่เน้นความคล่องตัว ว่องไว มีความยืดหยุ่นสูง มีการทำงานเป็นทีม

เพื่อร่วมแก้ปัญหา และกระตุ้นให้กล้าคิดที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วเท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

การจะทำ Agile ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและประสบความสำเร็จนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ถามตัวเองก่อนว่า ต้องการอะไรจาก Agile ? เพราะบางครั้ง หากในองค์กรไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ Agile ก็ได้ เพราะ Agile ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น และก็ไม่ได้เหมาะกับทุกองค์กรเสมอไป เพราะจริงๆ แล้ว Agile ไม่ใช่กระบวนการที่มีไว้เพื่อทำให้งานเร็วขึ้น แต่มันคือ Mindset ที่ทำให้ทุกคนไม่ต้องเกี่ยงงาน แต่รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด โฟกัสที่ความรับผิดชอบของตัวเองเป็นหลัก และงานจึงเสร็จได้ง่ายขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องควบคู่ไปกับการมีวินัย (Discipline) ที่สูงมากด้วยเช่นกัน โดยแนวการทำงานแบบ Agile Mindset มีหลักการดังนี้

  • ทำงานเป็นทีมโดยนำบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายสายงานต่าง ๆ มารวมตัวกันเพื่อระดมสมองจากทีมเล็ก ๆ โดยมุ่งให้ได้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการลดขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ที่ไม่สำคัญหรือไม่จำเป็น เช่น งานด้านเอกสาร และงานที่มีความซ้ำซ้อน
  • มีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง (Communication) กระตุ้นให้เกิดบุคลากรในทีมให้เกิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กล้าคิด กล้าทำ มีความสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ และกล้าตัดสินใจ โดยที่ทุกคนในทีมสามารถรับรู้ถึงขั้นตอนของการทำงานและความคืบหน้าอย่างชัดเจน
  • กำหนดโปรเจกต์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง โดยทีมงานมีอำนาจการตัดสินใจไม่ต้องรอผู้บริหารอนุมัติ และมีกำหนดกรอบระยะเวลาส่งงานแต่ครั้ง เพื่ออัปเดตงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลอดเวลา แตกต่างจากการทำงานในรูปแบบเดิมที่ส่งมอบโปรเจกต์ที่ทำสำเร็จแล้วเพียงครั้งเดียว
  • การทำงานที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรส่งเสริมให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา เพราะโลกของการเรียนรู้ของคนถูกตีกรอบแค่ตีกรอบอยู่ในระบบการศึกษา แต่แนวคิดนี้สร้างให้คนเรียนรู้สิ่งผิดพลาด และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

 

ปัจจุบันองค์กรชั้นนำต้องสร้าง Mindset ที่จำเป็นต่อโลกการทำงานยุคใหม่ให้กับบุคลากร เนื่องจากเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งรูปแบบธุรกิจใหม่ หรือกระทั่งนวัตกรรมใหม่ และที่สำคัญคือพฤติกรรม และความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็ว ดังนั้นหากแนวคิดของคนทำงานไม่พร้อมเปลี่ยน องค์กร และคนทำงานอาจถูก Disruption ได้ในที่สุด

 

ที่มา

https://careers.scb.co.th/.../career-tips-building.../

https://brandinside.asia/outward-mindset-by-seac/

https://th.hrnote.asia/tips/agile-mindset-09232021/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/agile-mindset/