องค์กรยุคใหม่ ดูแลใจคนทำงาน

02/07/2023 Happy8workplace 1,350
Share:

ถ้าพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวกับ “หัวใจ” สิ่งแรกที่เราจะนึกถึงเลยคือปัญหาที่มาจากความรัก

แต่ไม่ว่าจะปัญหาเรื่องการงาน การใช้ชีวิต หรือความรัก ทุกอย่างก็ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เพราะทุกปัญหาเกิดจากวัตถุดิบหลักคือ “ใจ” 

ไม่ว่าจะเรื่องการงาน ก็มีเรื่องความรักมาเกี่ยวข้องจนกลายเป็นเรื่องเดียวกัน

 

ซึ่งเราต้องแยกเรื่องงานกับความรัก แต่เรื่องงานกับความรักมีวิธีรับมือเหมือนกัน
เช่น ตอนเช้าเรามีปัญหากับคนที่บ้านเวลาเราไปทำงานเราก็จะไปทำงานแบบอารมณ์ไม่ดี ใช้พลังเท่าที่มีได้เพื่อจะไปทำงาน เพราะฉะนั้น คาดสวัสดิการของคนทั้งโลกองค์กรหลาย ๆ องค์กรมากกว่า 90% จะดูแลสวัสดิการเรื่องใจของพนักงานสูง เมื่อไรก็ตามที่เราได้พลังจากใจ พอทุกคนได้พลังงานใจ ก็จะเอาพลังทั้งหมดที่อยู่ในคุณภาพชีวิตที่ดีเอามาลงกับงาน 

 

ยกตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น ในบางบริษัท ใครก็ตามที่สูบบุหรี่จะมีวันพักร้อนน้อยกว่าคนอื่น 6 วันซึ่งเขาให้เหตุผลว่า ในขณะที่คนอื่นอ้างว่าทำงานจะอยู่คนที่สูบบุหรี่ต้องกดลิฟท์เพื่อลงไปชั้นล่างสูบบุหรี่ แต่ในขณะเดียวกันในขณะที่เราไปสูบบุหรี่ คนอื่นทำงานกันอยู่ เพราะฉะนั้นองค์กรก็เลยมีการมองเห็นว่า ในขณะที่คนอื่นสูบบุหรี่ยังมีคนอีกเยอะมากที่นั่งทำงาน สวัสดิการก็เลยเกิดขึ้นเพื่อที่จะทำให้คนที่ทำงานและไม่ได้ลงไปสูบบุหรี่ได้รู้สึกว่าองค์กรเห็นความสำคัญของคุณเพราะฉะนั้นถ้าคุณคือคนที่ไม่สูบบุหรี่คุณจะมีวันพักร้อนมากกว่าคนอื่น สวัสดิการเหล่านี้เป็นสวัสดิการที่ตอบแทนการเห็นความสำคัญ เมื่อองค์กรนั้นคนที่เป็นฝ่ายบริหารเห็นหัวใจของฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการก็เร่งให้ใจกับองค์กรมากขึ้นไปอีก

 

ส่วนประเทศญี่ปุ่น ในบางบริษัทนั้นอนุญาตให้ลาอกหักได้ เพราะเขาเชื่อว่าวัตถุดิบที่ชื่อว่า “ใจ” ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ใจมันหมดพลัง เขาจะเอาแรงและเอาพลังที่ไหนไปใส่ในงาน ซึ่งคนอายุเยอะสามารถลาอกหักได้นานกว่าคนอายุน้อยด้วย เพราะเขารู้สึกว่ากว่าที่จะมีคนมารีไซเคิลหัวใจคนอายุเยอะก็ช้า ส่วนคนที่อายุน้อยกว่าก็จะมีพลังฟื้นฟูตัวเองขึ้นมามากหน่อย การอกหักความจริงถือว่าเป็นความเจ็บระดับสูงมาก เป็นการลาเพื่อพักใจก็มีคุณค่าและมีเหตุผลมากพอที่จะได้รับการเซ็ตอนุมัติ เมื่อไรก็ตามพี่ที่องค์กรให้ความสำคัญกับความอ่อนแอในบางมุมของมนุษย์ เราจะได้ใจพนักงานมากยิ่งขึ้น

อังกฤษเองก็เริ่มพนักงานของเขาทำงาน 4 วันแต่ใน 3 วันนั้นสามารถเอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้ การทำแบบนี้จะทำให้สมองส่วนที่เราต้องใช้ทำงานในวันปกติทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งได้มีการสำรวจมาแล้วว่าลองใช้วิธีการนี้ 1 ปี สิ่งที่ได้ก็คือ พนักงานมีอาการเบิร์นเอาท์น้อยมาก อาการหมดไฟในการทำงานน้อยลงมาก ที่สำคัญประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น พนักงานดูมีความสุขมากขึ้น 

อาการเบิร์นเอ้าท์หรือหมดไฟในการทำงานน้อยลงมากและที่สำคัญใน 4 วันนั้นก็ได้งานประสิทธิภาพเท่ากับการทำงาน 5 วัน

 

ถ้าหากพนักงานในองค์กรรู้สึกมีพลังและแรงจูงใจที่ทุ่มเทให้กับงานและองค์กร หรือเริ่มให้ใจกับองค์กรมากขึ้น จะเป็นการส่งผลให้เกิด Productivity ซึ่งจะทำให้เป็นผลดีทั้งกับองค์กรและตัวพนักงานเอง การดูแลใจของคนในองค์กรจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญหลัก ๆ ที่จะช่วยผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้นองค์กรก็ต้องเปิดใจปัญหาใจของพนักงานให้เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งด้วยเช่นกัน

 

แหล่งที่มา

ดีเจพี่อ้อย (นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล) : กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา ในหัวข้อ องค์กรยุคใหม่ ดูแลใจ คนทำงาน