ดังนั้นลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานรวมถึงนโยบายของสถานประกอบการที่ทำงานในการดูแลสร้างเสริมสุขภาพคนทำงานจึงเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพคนวัยทำงานที่ต้องให้ความสำคัญ โดยพบว่า พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชนแรงงานไทยมีความแตกต่างกันตามสถานภาพการทำงานซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรัฐบาล ผู้ช่วยธุรกิจในครัวเรือน (โดยไม่ได้รับค่าจ้าง) ผู้ทำงานส่วนตัว (โดยไม่มีลูกจ้าง) นายจ้าง
พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของคนวัยทำงานมีดังนี้
1. การสูบบุหรี่
พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่ พบว่า ลูกจ้างเอกชน และผู้ทำงานส่วนตัวเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังและควรให้การสนับสนุนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากที่สุด เนื่องจาก 1 ใน 5 คนทำงานสองกลุ่มนี้ มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ทุกวัน
2. การบริโภคแอลกอฮอล์
พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคแอลกอฮอล์ พบว่า กลุ่มนายจ้าง ลูกจ้างเอกชนและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ มีสัดส่วนสูงที่สุด โดยมีอัตราการดื่มอย่างน้อยทุกสัปดาห์
3. การบริโภคอาหาร : แหล่งอาหารหลักที่กินบ่อยที่สุด
การบริโภคอาหารกลุ่มของลูกจ้างทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ พบว่า มีสัดส่วนการกินอาหาร
นอกบ้านเป็นหลักมากกว่าคนทำงานกลุ่มอื่น โดยส่วนใหญ่เป็นการเลือกซื้อหรือบริโภคอาหารตามตลาดและร้านอาหารต่างๆ
4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
กลุ่มคนทำงานผู้ช่วยธุรกิจในครัวเรือน เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนของการมีกิจกรรมทางกายโดยเฉลี่ยแต่ละวันน้อยกว่าคนทำงานกลุ่มอื่น ดังนั้น แม้จะเป็นองค์กรเล็กๆ อย่างธุรกิจในครัวเรือน แต่ก็ควรจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีการเคลื่อนไหว มีกิจกรรมทางกายในระหว่างทำงานและการออกกำลังกายอย่างเพียงพอเพิ่มขึ้น
ข้อมูลจาก : รายงาน สุขภาพคนไทย 2566 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.) มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)https://www.thaihealthreport.com/th/report_health.php?id=24