เป็นเรื่องที่น่าเสียดายคนพิการสองล้านคนทั่วประเทศ มีแค่ไม่กี่หมื่นคนได้เข้าถึงโอกาสงาน ในขณะที่
คนพิการในวัยทำงานอีกเป็นล้านยังไม่เข้าถึงโอกาสงานอยู่ดี ฉะนั้นในการพัฒนาหรือการจ้างงานคนพิการถ้าเราทำเป็นระบบก็จะเป็นประโยชน์มาก ถึงจ้างงานคนพิการแล้วไม่ได้ใช้ที่บริษัทแต่ให้คนพิการมาช่วยเครือข่ายคนพิการที่เขาทำงานสร้างงานสร้างอาชีพแบบยั่งยืนให้กับคนพิการ ซึ่งมีเครือข่ายหลักๆ หลายเครือข่ายถ้าเขาได้อัตราแบบนี้เขาก็จะทำงานได้มากขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่าขยายงานออกไปได้กว้างขว้างขึ้น แต่ถ้าไม่มีแรงงานแล้วมูลนิธิเข้ามาจ้างเองเราก็ไปไม่รอด เพราะว่าการมาทำเรื่องพวกนี้
จะไม่ค่อยมีคนมาบริจาคเงิน เพราะว่าผู้บริจาคเงินก็มักอยากจะได้อะไรที่ช่วยโปรโมทกลับไปด้วย
“ด้วยเหตุนี้เราก็จึงพยายามเชิญชวนบริษัทเข้ามาทำมาตรา 35 กับเครือข่ายคนพิการที่ไว้ใจได้ซึ่งก็มีอยู่มากพอสมควร ถ้าบริษัทไม่ทำมาตรา 33 ก็อย่าไปทำมาตรา 34 ให้มาทำมาตรา 35 ผมว่าจะเป็นประโยชน์กับคนพิการ เพราะมาตรา 35 จะไปถึงคนพิการโดยตรง และมาตรา 35 หลายบริษัทอยากทำอย่างอื่น เช่นมาขอสร้างโรงฝึกให้แล้วก็ติดแบรนด์ของบริษัท ใครมาเยี่ยมมาดูที่โรงฝึกก็รู้ว่าโรงฝึกนี้ สนับสนุนโดยบริษัทนี้และทางบริษัทก็สามารถถ่ายทำกิจกรรมของโรงฝึกนี้ไปทำ CSR ของบริษัท”
ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ และผู้ก่อตั้งศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน
ที่มา Happy Workplace Talk ครั้งที่ 7 องค์กรยุคใหม่ ร่วมสร้างโอกาส สร้างงานให้คนพิการ"