ออกแบบพื้นที่ทำงานเพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะในการทำงาน

08/08/2023 คลังความรู้, บทความ 1,257
Share:

จากการเข้าไปเยี่ยมชมบูธนิทรรศการใน งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 35 หลาย ๆบูธมีข้อมูลความรู้น่าสนใจ แต่ที่อยากนำมาฝากเพื่อนๆ ในเพจ คือ นิทรรศการ Design for aProductive Workplace: a case of Cobra International ต้นแบบการออกแบบพื้นที่ทำงานที่ส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาวะในการทำงาน ของ THAMMASAT DESIGN SCHOOL  โดยข้อมูลในนิทรรศการได้ระบุไว้ว่า…

Workplace Design ได้ศึกษาการจัดสรรพื้นที่ทํางานและfacility ภายในพื้นที่ทํางานให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยคํานึงถึงสภาพแวดล้อม ผู้ใช้งาน ภายใต้แนวคิดความปลอดภัยจาก หลัก MDC ประกอบกับศึกษาหลักการ Modern Safety Management และการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะ โดย 
รศ. ดร. อารุญ เกตุสาคร อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนําเสนอผ่านแนวคิดของนักศึกษาจํานวน 4 กลุ่ม 4 แนวคิด เพื่อนําไปสู่การประยุกต์ใช้กับพื้นที่ทํางานภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้

 

Mindfulness Well-being Environment 

การเพิ่มสติรับรู้ในการทํางานให้กับพนักงาน ทําให้พนักงานสามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • Increase focus zone

การสร้างพื้นที่ที่ทําให้พนักงานสามารถ focus กับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พื้นที่ทํางานส่วนตัวแบบ pod หรือรูปแบบ Furniture ที่ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวมากขึ้นจะช่วยให้พนักงานไม่ฟุ้งซานกับงาน

และมีสติในการทํางานซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจในการทํางาน เพื่อลดความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุทางร่างกายที่นําไปสู่การเจ็บป่วย

  • Reduce stress

เพิ่มพื้นที่ลดความตึงเครียดแก่ พนักงาน เช่น พื้นที่ให้พนักงาน ทบทวนตัวเอง Contemplation Zone หรือ พื้นที่สีเขียว เพื่อให้ พนักงานกลับมาทํางานได้อย่างมีสมาธิ มีสติรู้ตัวมากขึ้น

 

DisciplineMental & Physical Environment 

การเพิ่มพื้นที่สร้างความมีวินัยในการทํางานให้กับพนักงาน และเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ

  • Circulation & Zoning

การออกแบบทางสัญจรและและวางตําแหน่งผังพื้นที่ในส่วนของพนักงานและลูกค้าอย่างชัดเจน ไม่ใช้เส้นทางทับซ้อนกัน เพื่อรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ทํางานลดการพบปะของคนเป็นจํานวนมาก และป้องกันอุบัติเหตุจากการเคลื่อนย้ายสินค้า และการรั่วไหลของข้อมูลของลูกค้าเป็นความลับ

  • Physical environment

การสร้างบรรยากาศในพื้นที่ทํางานและพื้นที่เวิร์คช้อปของลูกค้า โดยจัดสรรพื้นที่ทํางานให้สะอาดมีสุขอนามัย แสงไม่มาก-น้อยจนเกินไป อุณหภูมิที่พอเหมาะ และมีการระบายอากาศที่เพียงพอและใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเลือกใช้ระบบกําจัดฝุ่นเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆที่อาจจะได้มาจากการทํา
เวิร์คช้อปอุปกรณ์การใช้งาน หรือมลพิษจากการประกอบการภายใน นอกโรงงาน ซึ่งจะทําให้การทํางานวัสดุอุปกรณ์ มีสภาพที่ปลอดภัยและผู้ใช้งานมีสุขอนามัยที่ดี ลดการเจ็บป่วยได้

 

CaringSocial Environment & Ergonomic

การออกแบบพื้นทีโดยคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก ให้ตอบสนองต่อการใช้งานของพนักงานและลูกค้าที่หลากหลาย

  • Universal Design

- การคํานึงถึง Universal Design ในการออกแบบ เพื่อรองรับกลุ่มคนที่หลากหลายทั้งพนักงานและลูกค้า ด้วย การมีพื้นที่เพิ่มเติม เช่น ห้องสําหรับให้นมบุตร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการพฤติกรรมการใช้งานของพนักงาน

- การออกแบบให้ความสําคัญกับความคิดเห็นของพนักงาน ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อ ให้รู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

  • Ergonomic Design

-การมีเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับระดับได้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้งาน ลื่นล้ม ลดการบาดเจ็บจากการนั่ง ทํางานเป็นเวลานาน

-การออกแบบระยะห่างที่สะดวกสบายกับการใช้งาน มีความหลากหลายของเฟอร์นิเจอร์ (เก้าอี้นั่ง โต๊ะทํางาน) ส่งเสริมให้ผู้ใช้งานไม่นั่งอยู่กับที่ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะช่วยลด การเกิดอุบัติเหตุการเป็น office syndrome

 

ทั้งนี้เพื่อจะนําไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน (People&Living) ด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้งาน (Environment)

 

ข้อมูลจาก นิทรรศการ Design for aProductive Workplace: a case of Cobra International

ต้นแบบการออกแบบพื้นที่ทำงานที่ส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาวะในการทำงาน

THAMMASAT DESIGN SCHOOL งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 35