คาโรชิ (Karoshi Syndrome) ทำงานหนักจนตายเกิดขึ้นได้จริง

03/08/2023 คลังความรู้, บทความ 4,072
Share:

“งานหนักไม่เคยฆ่าใครตาย” 

คนที่เห็นประโยคนี้อาจจะคิดเล่น ๆ ว่าแค่การทำงานจะทำให้ตายได้จริงหรือ?

 

แต่…สิ่งนี้เกิดขึ้นจริง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแสดงให้เห็นแล้วว่า งานหนักทำให้คนตายได้
จากผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกที่เผยแพร่ในปี 2564 ระบุว่า ในหนึ่งปีมีมากกว่า 7 แสนคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจซึ่งเป็นผลจากการทำงานหนักเกินไปโดยในประเทศญี่ปุ่นได้มีการค้นพบโรคคาโรชิ (Karoshi Syndrome)ในปี 1969 ซึ่งเกิดขึ้นจากชายวัย 29 ปี พนักงานขนส่งของบริษัทหนังสือพิมพ์เจ้าใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกฉับพลัน

คาโรชิซินโดรม (Karoshi Syndrome) เกิดขึ้นจากอาการเหนื่อยหรืออ่อนเพลียจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย เครียดสะสม จนทำให้เสียสุขภาพ และอาจเกิดอาการร้ายแรงที่นำไปสู่ชีวิต โดยข้อมูลจาก WHO เผยว่าคนที่ทำงานหนักจนเกินไป หรือมีชั่วโมงทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมง
ต่อสัปดาห์ แบกรับภาระงานที่หนักเกินตัว จนนำมาสู่โรคคาโรชิ ซินโดรม 

จากการสำรวจถึงสาเหตุการเสียชีวิตของคนวัยทำงานสูงสุด พบว่า คือ โรคหัวใจ 42% และ เส้นเลือดในสมอง 19% ซึ่งโรคที่กล่าวมานั้นมักเกิดขึ้นจากร่างกายที่ทำงานหนักจนไม่ได้พักผ่อน อันเป็นสาเหตุไปสู่ คาโรชิ
ซินโดรม วันนี้เราจะพามาเช็คลิสต์ว่าตอนนี้คุณกำลังเข้าข่ายที่จะเป็นคาโรชิซินโดรมอยู่หรือไม่

  • คิดเรื่องงานตลอดเวลา
  • ทำงานเกินเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไม่มีโอกาสลางานได้ หรือ ไม่มีวันว่างให้ได้พักผ่อน
  • เกิดความกดดันจากการทำงานมีภาวะเครียด
  • นอนไม่หลับ หรือ หลับไม่สนิท อาจเก็บเรื่องของการทำงานไปฝัน
  • ไม่มีเวลาให้ตัวเองและครอบครัว

 

หากทบทวนตัวเองแล้วพบว่าพฤติกรรมด้านสุขภาพของเราอยู่ในข่ายดังกล่าวข้างต้น ก็อย่ากังวลใจไปว่าจะเกิดอาการร้ายแรง เราสามารถป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวได้ดังนี้

  • พักจากงาน หาเวลาว่างให้กับตัวเอง
  • แบ่งเวลาจากการทำงานมาทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือ ออกไปสูดอากาศข้างนอกบ้าง
  • ออกกำลังกาย และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ไม่เก็บเรื่องงานมาคิดหลังเวลางาน คิดว่าต้องปล่อยวางจากงานบ้าง
  • ถ้าเริ่มรู้สึกงานล้นมือมากเกินไป ให้พูดคุยกับหัวหน้างานเพื่อปรับปริมาณของงานให้เหมาะสม

 

เราต้องไม่ลืมว่าเมื่อร่างกายเกิดความเครียดสะสม จะส่งผลกระทบต่อร่างกายไม่ใช่เพียงแค่สมอง การพักผ่อนให้เพียงพอกับร่างกายจะทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้นได้ ถ้าไม่เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ปรับวิธีการใช้ชีวิต ทั้งในเรื่องของอาหารการกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อน และปล่อยให้อาการต่าง ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งร่างกายอาจทนไม่ไหว จนทำให้เราไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไปเลยก็ได้

 

ที่มา : 

https://www.aoed.org/articles/2020/september/karoshi/