เนื่องจาก 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เข้าสู่สภาะโรคระบาด COVIC-19 ด้วยสภาพการทำงานช่วงนั้นทำให้หลาย ๆ องค์กรต้องปรับการทำงานเป็นแบบ Work From Home ให้กับพนักงานเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงกับโรคระบาด แต่หลังจากภาวะโรคระบาด COVIC-19 เริ่มกลับมาสู่สภาวะที่สามารถควบคุมได้แต่ก็ยังมีบางองค์กรที่ปรับการทำงานให้เป็นแบบ Hybrid Working ก็คือการทำงานที่ให้พนักงานทำงานในออฟฟิศสลับกับ Work From Home หรือจากที่ไหนก็ได้ (Remote working) แทนที่การทำงานในออฟฟิศทุกวันเพียงอย่างเดียว ซึ่งบริษัทชั้นนำมากมายในต่างประเทศ อย่างเช่น Google, Dropbox, Uber หรือ Facebook ได้เริ่มปรับตัวมาเป็น Hybrid Working กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งองค์กรต่างๆในประเทศไทยก็มีการปรับมาใช้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่การที่จะให้พนักงาน Work From Home ก็ต้องคำนึงถึงกฎหมายแรงงานของการทำงานด้วย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) ที่ว่าด้วยการทำงานที่มีการ Work From Home ซึ่งได้เพิ่มเติมบทบัญญัติที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานให้ได้ความคุ้มครองโดยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นต้นไป กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ได้เพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 23/1 เป็นประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้างซึ่งมีกฎหมายออกมาว่า
ปัจจุบันรูปแบบการทำงานในองค์กรธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยมีการทำงานจากที่พักอาศัยของลูกจ้างหรือ Work from Home หรือจากสถานที่อื่นๆ ซึ่งอยู่นอกสถานประกอบการของนายจ้างมากขึ้นเมื่อมีกฎหมายข้อบังคับที่ชัดเจนออกมาให้ได้นำไปใช้แล้ว พนักงานหรือนายจ้างที่ทำงานแบบ Work From Home ที่มีสิทธิ์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็จะมีสิทธิการคุ้มครองเหมือนกับพนักงานที่ทำงานในออฟฟิศด้วยเช่นเดียวกัน
แหล่งที่มา
https://ratchakitcha.soc.go.th/.../140A020N0000000005600.pdf