นอกจากนั้น บางคนอาจเจอกับการกดดันของคนรอบข้าง คนในครอบครัว ว่า“อายุเท่านี้จะต้องมีเงินเก็บเท่านี้ต้องประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องมีบ้าน มีรถ” แต่พนักงานส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพนักงานข้าราชการหรือพนักงานทั่วไปก็อาจจะมีเงินเก็บจากเงินออมที่หักจากเงินเดือนข้าราชการ 3% เป็นกองทุนสำรอง หรือประกันต่าง ๆ ซึ่งเป็นเงินที่เราได้จ่ายไปเพื่อการออมโดยที่เราอาจลืมนึกถึงปัญหาเงินเดือนชนเดือนนั้นเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้โดยมีหลายวิธีที่จะช่วยให้จัดสรรเงินเดือนให้พอใช้ และทำให้มีเหลือเก็บไว้สำรองในแต่ละเดือนที่จะมาแนะนำกัน ซึ่งก็เป็นวิธีง่าย ๆ นั่นก็คือ
ยกตัวอย่างเช่น:ได้รับเงินเดือน 18,000 บาทนำไปหักลบค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เป็นรายจ่ายแน่ ๆ เช่น ค่าสตรีมมิ่งต่าง ๆ / ค่าผ่อนบ้าน,รถ / ค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 5,000บาท คงเหลือ 13,000 บาท แล้วนำไป หาร30 = 433 บาท เป็นเงินที่สามารถใช้ได้ในแต่ละวัน เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหารแต่ถ้าหากนำไป หาร 45 จะเท่ากับ 288 บาท แล้วที่เหลือสิ้นเดือนก็นำไปเป็นเงินออม
ทั้งนี้การที่เราไม่มีเงินเก็บนั้นก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร ถ้าเราต้องการใช้เงินจริง ๆ ก็อาจจะลองหาตัวช่วยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน หรือการใช้บัตรกดเงินสดเพื่อลดแทนการกู้ยืมแทน เช่น สินเชื่อที่สามารถยืมเงินตัวเองมาใช้ก่อน แต่การทำแบบนี้ก็จะมีและข้อเสีย คือ
ข้อดี : เงินที่เรานำมาหมุนก็ยังเป็นเงินของตัวเอง
ข้อเสีย : มีค่าธรรมเนียมที่เราต้องจ่าย
สำหรับวัยทำงานอย่างเรา นอกจากจะทำงานหาเงินเก่งแล้ว จะต้องบริหารการเงินให้เก่งควบคู่ไปด้วย โดยเริ่มจากการออมเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปก่อนแล้วค่อยศึกษาถึงการลงทุนเพื่อการออมต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งเก็บออมเงินเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ เรื่องของการเงินนั้นต้องอาศัยทักษะของความรู้ และ ความเข้าใจ และการรับมือกับผลกระทบของความเสี่ยงต่าง ๆ ในการลงทุน เรื่องเงินทองเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ อย่างน้อยเราควรมีแผนสำรองเพื่ออนาคตที่ดีของตัวเอง
.
แหล่งที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=1t64o11Fh2Yใช้เงินเดือนชนเดือน แก้ไขได้อย่างไร l เงินทองของจริง EP.135 | THE STANDARD