ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสุขภาพจิตในคนทำงาน โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ดูจะเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อการทำงานอย่างมาก เนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิตไม่ได้เกิดขึ้นกับเพียงแค่ตัวผู้มีปัญหาแต่ส่งผลกระทบถึงองค์กรด้วย ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการป่วยโรคซึมเศร้ามากถึง 1.35 ล้านคน เพิ่มมากขึ้นจาก 3 ปีที่ผ่านมา และในปีที่ผ่านๆมาโรคซึมเศร้าเริ่มเป็นที่รู้จักเป็นวงกว้าง และ มีผู้ป่วยกล้าที่จะเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์มากขึ้น
ผลสำรวจออนไลน์ของ Rocket Media Lab เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าป่วยด้วยโรคซึมเศร้าและเข้ารับบริการในสถานพยาบาล ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ทั้งหมด 506 คน ส่วนใหญ่พบในเกือบทุกช่วงวัย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนทำงานอยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปี ร้อยละ 46.2 อันดับที่ 2 คือช่วงอายุ 31-40 ปี ร้อยละ 33.2 อันดับ 3 คือ 41-50 ปี ร้อยละ 11.1
จากผลสำรวจพบว่าร้อยละ 63.8 รักษากับจิตแพทย์เพียงอย่างเดียวและร้อยละ 36.2% เลือกที่จะใช้วิธีบำบัดอาการหลากหลายนอกจากการไปพบจิตแพทย์ โดยมีเหตุผลว่าแพทย์ไม่เพียงพอต่อการรักษาจึงต้องหากิจกรรมอื่นๆที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองมาเป็นเครื่องมือในการบำบัด ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดกับนักจิตวิทยาโดยตรง กิจกรรมบำบัด ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ละครบำบัด และ อื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอยู่ที่ 500 บาทขึ้นไปต่อครั้ง และจากผลสำรวจของผู้ป่วยที่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเองทั้งหมด พบว่าสิ่งที่ต้องการส่วนใหญ่ของพวกเขา คือ
1. ยาราคาที่ถูกลง
2. ความยืดหยุ่นในการทำงาน
3. มีประกันสุขภาพส่วนบุคคล
4. ช่อทางพิเศษสำหรับผู้ที่ต้องการบำบัดโดยด่วน
5. สิทธิในการรักษาพยาบาลสำหรับการรักษาในด้านจิตวิทยา
ข้อเสนอที่มีต่อองค์กร หรือนายจ้าง
ที่มา
https://rocketmedialab.co/depression/‘ราคา’ ที่ต้องจ่ายและสิ่งที่อยากได้ ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า