ภายหลังจากที่ทั้งโลกเริ่มฟื้นตัวจาก โควิด-19 จนกระทั่งเกิดสถานการ์ณ “การลาออกครั้งใหญ่” ของคนทำงาน
Adecco Group ได้สำรวจความคิดเห็นของคนทำงานจากกลุ่มตัวอย่าง 34,200 คนใน 25 ประเทศทั่วโลก ในช่วงอายุ 18-60 ปี พบว่า 27% กล่าวว่าจะลาออกจากงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันใน 1 ปีข้างหน้า และ 45% กำลังอยู่ในช่วงกำลังสมัครงานและสัมภาษณ์งานใหม่ ส่วนอีก 55% ก็กำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป และในกลุ่มที่บอกว่าจะลาออกนี้ มี 17% ที่เคยได้รับการติดต่อจาก recruiter เพื่อชวนไปร่วมงานใหม่ ซึ่งผลสำรวจในปีนี้เป็นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มเรื่องการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
รวมถึงเทรนด์ที่ยังคงดำเนินต่อไปอย่างคาดไม่ถึงนั่นคือการลาออกครั้งใหญ่ระลอกใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายใน เช่น นโยบายของบริษัท ปัจจัยภายนอกเช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมืองโลก และ เทรนด์การทำงานที่สำคัญที่เพิ่งเกิดขึ้น
Work life balance ขึ้นแท่นสิ่งที่คนนึกถึงเป็นอันดับหนึ่งเมื่อพูดถึงความสำเร็จ
ถ้าให้พูดถึงความสำเร็จในชีวิตการทำงานของคนส่วนใหญ่พบว่า 40% ยกให้การมี Work Life Balance เป็นตัวแปรหลักที่สื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ต่อมา 32% คือการมีความสุขกับการทำงานในทุกๆวัน รองลงมา 30% มีงานที่มั่นคง และ 30% มีความยืดหยุ่นในการทำงาน และ 29% คือ ได้ทำงานที่ตรงกับ passion ที่ตั้งไว้
แต่ผลสำรวจได้มีผลออกมาว่า เงินเดือนคือเครื่องมือสำหรับดึงคนใหม่ แต่ไม่ได้ช่วยรั้งคนเก่า
ในหลายปีมานี้ ส่วนใหญ่มักมองว่าเงินเดือนเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ดึงดูดพนักงานใหม่ ในทางกลับกัน เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นอย่างเดียว ไม่เป็นผลต่อการรักษาพนักงานเก่าได้ โดยความต้องการเงินเดือนที่สูงขึ้นคือเหตุผลอันดับ 1 ที่ทำให้คนตัดสินใจย้ายงาน ทั้งพนักงานออฟฟิศและอาชีพอื่น ๆ ต่างเลือกให้เงินเดือนเป็นปัจจัยสำคัญอันดับ 1 ร่วมกัน ส่วนอันดับรองลงมาคือ ต้องการมี work life balance ที่ดีขึ้น ต้องการความก้าวหน้าในทักษะและสายงาน ต้องการบริษัทที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน และต้องการทดลองสิ่งใหม่ ๆ ตามลำดับ แล้วอะไรกันแน่ ที่เป็นตัวหลักที่จะสามารถใช้รักษาพนักงานเก่าไว้ได้
โดยปัจจัยหลักที่ทำให้คนทำงานเลือกที่จะอยู่ต่อกับบริษัทเดิม อันดับ 1 คือการมีความสุขกับงาน รองลงมาคือ งานมีความมั่นคง มี work life balance มีความสุขกับเพื่อนร่วมทีม และ การมีความยืดหยุ่นในการทำงาน
แต่ 44% ของคนที่ยังต้องการอยู่ที่เดิม จะมีข้อเสนอว่าพวกเขาต้องการความก้าวหน้าภายในบริษัท และยังต้องการ upskill เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานใหม่อีกด้วย
จะสังเกตได้ว่าความพึงพอใจเรื่องเงินเดือนไม่ได้อยู่ในเหตุผลอันดับต้น ๆ เลยด้วยซ้ำ โดยอยู่ในอันดับที่ 6 เพราะฉะนั้นหากบริษัทต้องการเก็บรักษาพนักงานที่มีความสามารถ นอกจากเรื่องเงินเดือนแล้ว สิ่งที่จะต้องพิจารณาให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ รูปแบบการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการคนในปัจจุบัน มีการวางแนวการพัฒนาพนักงานให้มีการเติบโตในสายงาน และดูแลเรื่อง wellbeing ของพนักงานควบคู่ไปด้วย
ที่มา
https://adecco.co.th/en/knowledge-center/เกิดอะไรขึ้นบ้างกับคนทำงานในปีนี้? รู้เท่าทันเทรนด์การลาออกครั้งใหญ่ระลอกใหม่