สสส.จัดเวทีคืนข้อมูลสุขภาวะองค์กร ให้แก่ภาคีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สานต่องานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี “คนทำงาน”

26/08/2024 กิจกรรมที่น่าสนใจ, ข่าวประชาสัมพันธ์ 1,551
Share:

บรรยากาศ “การประชุมหารือศึกษาสถานการณ์ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องของวัยทำงานในประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์หากลุ่มเป้าหมายองค์กรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์” สำคัญ มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร (Critical Mass)” เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมนี้ ที่โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร หรือ สำนัก 8 (สสส.) และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ภายใต้โครงการการศึกษาสถานการณ์ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องของวัยทำงานในประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการติดตามการดูแลสุขภาพวัยทำงานอย่างบูรณาการในระดับองค์กร ในการนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายองค์กรสุขภาวะเข้าร่วมทั้งรูปแบบออนไซด์และออนไลน์ ร่วมหารือกันในประเด็นสถานการณ์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวัยทำงานในประเทศไทยกันอย่างคึกคัก

สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาสถานการณ์การเจ็บป่วย/บาดเจ็บ ทั้งโรคที่มีสาเหตุจากการทำงานและไม่ใช่จากการทำงาน ในกลุ่มวัยทำงานของประเทศไทย (คนไทย) ระหว่างปี  พ.ศ. 2559 - 2563 โดยใช้ข้อมูลที่เผยแพร่ (open data) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำข้อเสนอแนวทางสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบการตามประเภทสถานประกอบการ และ 3. พัฒนาแนวทางการสร้างระบบเฝ้าระวังสุขภาพวัยทำงาน เพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์สุขภาพวัยทำงานอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ก่อนเริ่มการหารือ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวถึงแนวทางการทำงานของสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร หรือ สำนัก 8 สสส.  ในประเด็นสถานการณ์สุขภาพวัยทำงานโดยใช้ข้อมูลบูรณาการด้านสุขภาพและความปลอดภัย ว่า สสส. โดยสำนัก 8 ให้ความสำคัญกับสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงาน รวมไปถึงคุณภาพชีวิตในทุกด้าน เพราะถ้าดูจากสถานการณ์การเกิดน้อยลง อัตราการตายที่สูงกว่า ผู้สูงอายุมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คนวัยทำงานต้องแบกรับภาระชีวิตบุคคลในครอบครัว ถือเป็นเป็นวิกฤตของประเทศ ดังนั้น สิ่งที่คาดหวังที่อยากให้เกิดขึ้นในการประชุมครั้งนี้ คือการวิเคราะห์วัยทำงานด้วยข้อมูลต้องระบุพิกัดการทำงานในพื้นที่ได้ และข้อมูลนั้นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมและการเป็นเจ้าของปัญหาสุขภาพร่วมกัน อีกทั้ง ข้อมูลต้องระบุกลุ่มประชากร ปัจจัยเสี่ยง ที่ควรดำเนินการก่อนหลัง และการใช้ข้อมูลในการติดตามผลลัพธ์

จากนั้น ผศ.พญ.ฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้นำเสนอผลการบูรณาการข้อมูลสุขภาพวัยทำงาน The Health Situation Of the Working Population In Thailand Preliminary Report และในช่วงท้ายได้เปิดให้ที่ประชุมร่วมกันอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะในประเด็นที่เกี่ยวในหัวข้อสำคัญดังนี้ ความเห็นต่อการบูรณาการข้อมูลของโครงการข้อเสนอแนะ การนำเสนอข้อมูลที่หน่วยงานถือครองและลักษณะข้อมูลเพื่อเพิ่มเติมการบูรณาการและการใช้ประโยชน์ โอกาสความเป็นไปได้ในการนำข้อมูลบูรณาการเพื่อการติดตามสุขภาพและความปลอดภัยของวัยทำงาน ความเห็นต่อการนำข้อมูลสุขภาพระดับบุคคล แนวทางการบูรณาการข้อมูลการตีความข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับองค์กรต่างๆ และแนวทางและวิธีการทำงานร่วมกันในอนาคต โดยหลังจากนี้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกรวบรวมและส่งคืนให้ภาคีเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับองค์กร เพื่อการเป็นองค์กรเพื่อสุขภาวะต่อไป
.
#สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร #ความสุขในองค์กร 
#สำนัก8 #สสส #Happy8workplace #สร้างเสริมสุขภาวะ #สุขภาวะองค์กร 
#Happy8