สำนักงานส่งเสริมความร่วมมือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรื่องเล่าจากพื้นที่ของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ต้นแบบ
พระครูอุภัยโกศล แกงหนึ่งถุงสงเคราะห์ชุมชนได้อย่างไร
โครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ ของหน่วยอบรมประชาชน ประจําตําบล (อ.ป.ต.) ใน สังคมไทย ดําเนินการโดย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้ การสนับสนุนงบประมาณโดย สํานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.)
ได้มีการดําเนินโครงการมาจนถึงระยะของการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายคณะสงฆ์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการสนับสนุนการพัฒนาหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ให้สามารถ สร้างการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะวิถีพุทธ รวมถึงสนองต่อนโยบายของมหาเถรสมาคม
พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. ผู้จัดการโครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรม ประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ในสังคมไทย และ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ลงพื้นที่ขับเคลื่อนและพัฒนาแนวทางการสนับสนุนให้ เกิดกิจกรรมในระดับพื้นที่ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นองค์กรต้นแบบ (Good Practice) ที่ทํา หน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสุขภาวะวิถีพุทธ สามารถสนองการขับเคลื่อน กิจการของคณะกรรมการหน่วยอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) ที่มหาเถรสมาคมได้มอบหมายให้ ดําเนินการต่อไปได้
การดําเนินกิจกรรมดังกล่าว นํามาสู่การสนับสนุนและทํากิจกรรมร่วมกับเครือข่ายคณะสงฆ์ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่ง พระราชรัตนสุธี ดร. เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก และ ผู้อํานวยการวิทยาสงฆ์ พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มอบนโยบายให้คณะสงฆ์ในพื้นที่ ขับเคลื่อนกิจกรรมของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) อย่างต่อเนื่อง
การดําเนินกิจกรรมดังกล่าว นํามาสู่การสนับสนุนและทํากิจกรรมร่วมกับเครือข่ายคณะสงฆ์ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่ง พระราชรัตนสุธี ดร. เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก และ ผู้อํานวยการวิทยาสงฆ์ พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มอบนโยบายให้คณะสงฆ์ในพื้นที่ ขับเคลื่อนกิจกรรมของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) อย่างต่อเนื่อง
(ตัวอย่างกิจกรรมของพระครูอุภัยโกศล)
สําหรับวีดีโอชุดนี้ เป็นเรื่องเล่าสั้นๆ ที่จะชวนให้ผู้ที่สนใจได้เห็นบทบาทการทํางานและความ เสียสละของพระครูอุภัยโกศลในนามของการขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) โดยมีคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้ให้กําลังใจ ให้การส่งเสริม และให้การสนับสนุนมาอย่าง ต่อเนื่อง
ทั้งนี้หากผู้อ่านท่านใดมีความสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานพัฒนาสุขภาวะวิถีพุทธภายใต้การ ขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) รวมทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์กรคณะสงฆ์ไทย สามารถติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมได้ในหนังสือ “ถอดบทเรียนเพชรงามการสาธารณสงเคราะห์ พ.ศ. 2560 - 2561” ซึ่งจัดทําขึ้นโดยสําสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายอื่น ๆ อาทิ สํานักงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของ มหาเถรสมาคม สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื้อหาภายในหนังสือเล่มดังกล่าว นอกจากจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวการทํางานของพระครู อุภัยโกศลแล้ว ยังมีการบอกเล่าและนําเสนอเกี่ยวกับผลงานของพระสงฆ์ท่านอื่น ๆ อาทิเช่น พระ ราชธรรมนิเทศ หรือที่รู้จักกันในชื่อ หลวงพ่อพยอม พระเมธีวชิโรดม หรือ พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี เป็นต้น
การรับรู้เกี่ยวกับที่มาที่ไป แรงจูงใจ และความคาดหวังของพระสงฆ์ที่ลงมือทํากิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับชุมชน ถือเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรรับทราบเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง อีกทั้งยังเป็นการ แสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์ไทยเอง ยังคงเป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการช่วยเหลือหรือสงเคราะห์ชุมชน เพื่อให้ชุมชนและสังคมสามารถรอดพ้นกับปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ใน ปัจจุบัน
เนื้อหาโดย
อ.ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์
Share
ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครทรวิโรฒ