ภาษาฉันคืออะไร?

25/05/2022 คลังความรู้, บทความ 3,555
Share:

 

ภาษาฉันคืออะไร?

การสื่อสารอย่างมีสติ ด้วย ภาษาทางบวก "I language ภาษาฉัน" ... ที่ได้เรียนรู้และมีโอกาสได้ฝึกกันไป หลายๆคนครั้งแรกยังไม่คุ้นชิน ก็ขอให้ใช้คำบัญญัติ ที่เชื่อแล้วจะช่วย ว่า "ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องยากถาวร เป็นเพียงเรื่องที่ใครบางคนอาจยังไม่คุ้นเคย" ..

การใช้ ภาษาฉัน "I language" อธิบายความรู้สึกที่มีโดยไม่โจมตีอีกฝ่ายวิธีการสื่อสารแบบนี้เรียกว่า“I Message” คือพูดถึงสิ่งที่ตนเองคิดหรือรู้สึกเช่นแทนที่จะพูดว่า“คุณนำเสนอไม่รู้เรื่อง” (ซึ่งเป็นการตำหนิเขา)เปลี่ยนเป็นพูดว่า“ผมฟังไม่เข้าใจ” (บอกความคิดความรู้สึกของเรา)นอกจากนั้นหากจำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาพฤติกรรมหรือการกระทำของอีกฝ่ายจงวิจารณ์เฉพาะเนื้อหาพฤติกรรมหรือการกระทำนั้นๆโดยไม่ตำหนิที่ตัวตนของเขาเช่นแทนที่จะพูดว่า“คุณเป็นคนไม่มีความรับผิดชอบเลย”เปลี่ยนเป็นพูดว่า“ผมไม่ชอบการรับปากแล้วไม่ทำตามสัญญา”เป็นต้น ... ให้แยกความตั้งใจกับวิธีการออกจากกัน

การสื่อสารที่มักสร้างปัญหาคือการสื่อสารที่เกิดจากความตั้งใจที่ดีแต่วิธีการสื่อไม่เหมาะสม คนที่เป็นแบบนี้มักคิดว่า“ฉันจริงใจไม่อ้อมค้อมไม่ชอบฉอเลาะคิดยังไงก็พูดอย่างนั้น”ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นการสื่อสารที่ดีต้องทำให้ผู้ฟังสามารถ “รับ” สิ่งที่สื่อออกไปได้คล้ายยาที่มีรสขมจึงต้องนำไปใส่แคปซูลเพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้นการสื่อสารก็เหมือนกันต้องรู้จักเคลือบช็อคโกแลตให้คำพูดด้วย โดยให้เริ่มต้นการสื่อสารด้วยข้อความที่เป็นบวกเช่นสมมุติว่าเพื่อนมาสายไปจากเวลานัดกันไว้มากแทนที่จะเริ่มต้นด้วยคำพูดว่า“นี่เธอเมื่อวานไม่ได้ยินเหรอว่าเรานัดกันกี่โมงนาฬิกาเสียรึเปล่า..”เป็น“พี่เข้าใจว่าบ้านเธออยู่ไกล ”เป็นต้นที่สำคัญต้องปรับเรื่อง Mindset .ปรับวิธีคิดให้ถูกต้องต้องเข้าใจความหมายของ“สิทธิและหน้าที่”ให้ชัดเจนเรามี“สิทธิ์”ที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างที่คิดโดยไม่ก้าวร้าวหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเมื่อแสดงความคิดเห็นแล้วก็แปลว่าเราได้ใช้สิทธิอันพึงมีของเราไปแล้วต่อไปก็มีหน้าที่ที่ต้องเคารพการตัดสินใจของผู้ที่มีอำนาจหากผลการตัดสินใจไม่เหมือนกับที่เราคิดก็ต้องถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามจงจำไว้เสมอว่า ทำให้การสื่อสารเป็นสองทางเสมอถ้าเป็นไปได้การสื่อสารที่ดีคือการสื่อสารที่เฉลี่ยการพูดและการฟังได้อย่างเหมาะสมการเป็นคนพูดอยู่คนเดียวโดยไม่ฟังเลยก็ไม่ดีในทางกลับกันการเป็นผู้ฟังอย่างเดียวโดยไม่แสดงความคิดเห็นเลยก็ไม่ดีเช่นกัน ฟังให้ครบถ้วนแล้วเริ่มต้นจากการสะท้อนทวนความก่อน ให้เราเข้าใจใจความถูกต้อง และผู้พูดได้รู้สึกว่า เราได้ยินได้รับสารนั้นแล้ว แล้วค่อยพูดตอบความรู้สึกความคิดเห็นของเรา ก็จะทำให้การสนทนาครั้งนั้นได้รสชาติและสื่อความเข้าใจเป็นอย่างดีเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีด้วย ด้วยสติสนทนา ขอฝากไว้ให้เป็นข้อคิดเพิ่มเติมกันนะครับ

อิทธิภัทธ ภัทรเมฆานนท์

พี่เลี้ยงสถานประกอบการ โครงการMio

และกรรมการบริหารบริษัท ซีบีเอ็นกรุ๊ปแอนด์ ออสโซซีเอทส์