เทรนด์ Happy Workplace ในอนาคต

27/01/2023 Happy8workplace Happy Brain 3,142
Share:

จากปัจจุบันการดำรงชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่างๆกับประชากร โดยเฉพาะวัยทำงาน เพราะเป็นวัยที่ถือว่าเป็นวัยที่ต้องหาเงินเลี้ยงชีพ บางคนอาจเป็นเสาหลักของครอบครัว ทาง สสส. จึงมีการจัดทำแผนงานให้แก่องค์กร เพื่อที่จะนำไปปรับใช้ให้เข้ากับในองค์กรของแต่ละองค์กรเพื่อเอื้ออำนวยต่อความสะดวกในแต่ละด้านของความต้องการ

 

แผนสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร (สำนักได้ใช้แนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy workplace) ที่มุ่งการดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมายหลักคือ “คนทำงาน ในองค์กร” ที่ถือเป็นบุคคลสำคัญและเป็นกำลังหลักของทั้งครอบครัว องค์กร ชุมชน และสังคม มุ่งเน้นให้องค์กรสุขภาวะ และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขยายผล ถ่ายทอดและติดตามประเมิน การส่งเสริมสุขภาวะในองค์กร ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง

สสส ได้ร่วมกับคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทบทวนและศึกษาอนาคตของ Happy Workplace วันนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลสถานการณ์ของประเทศและของโลกที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคุณภาพชีวิตของบุคลากรในองค์กรซึ่งทาง ซึ่งพบว่ามีทั้งหมด “9 เทรนด์” ที่น่าสนใจ ได้แก่

1. Well-Being: บุคลากรในองค์กรต้องการที่จะเห็นองค์กรดูแลครอบคลุมไปถึงเรื่องของการอยู่ดีมีสุขในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการเงิน จิตใจ สุขภาพกาย อาชีพ และสังคม

2.การออกแบบสวัสดิการ: ถ้าเราออกแบบสวัสดิการไม่สอดคล้องหรือไม่จูงใจให้คนอยากเข้ามาทำงาน จูงใจให้คนอยู่กับองค์กร อาจทำให้เกิดการลาออกครั้งใหญ่ (The Great Resignation) บุคลากรส่วนใหญ่ระบุเลยว่าสนใจว่าสวัสดิการองค์กรเป็นอย่างไร โดยเฉพาะ Gen Z ที่เห็นด้วยว่าสวัสดิการมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

3.การทำงานที่ไหนก็ได้: ปัญหาคือหาองค์กรจะวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance) บุคลากรที่ทำงานในลักษณะดังกล่าวอย่างไร การจัดการคนในยุคใหม่ควรเป็นอย่างไร

4.องค์กรที่มีจริตตรงกัน: ที่ต้องพิจารณาว่าวัฒนธรรมกับกลยุทธ์ขององค์กรต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้ความสำคัญกับค่านิยม (Core Values) ที่ช่วยให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

5. การให้ความสำคัญกับทักษะมากกว่าใบปริญญา: เราจะทำอย่างไรให้คนที่จบออกไปมีชุดทักษะความรู้ความสามารถที่พร้อมทำงานในทันที

6. อายุเยอะก็ยังทำงานได้: ให้โอกาสพนักงานที่อายุ 60 ปีขึ้นไปยังสามารถทำงานให้บริษัทได้ (Active Aging) สิ่งหนึ่งที่พบในองค์กรไทยคือการให้ความสำคัญกับบุคลากรที่เกษียณไปแล้ว โดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตควบคู่ไปด้วย

7. Up-Skills: องค์กรที่ประกาศตัวเองว่าจะพลิกโฉมองค์กร (Transformation) อันดับแรกคือพลิกโฉมที่ตัวบุคลากรในองค์กรก่อน ต้องมีการพัฒนาทักษะให้ตอบสนองทิศทางองค์กรและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

8. ทักษะแห่งปี 2022: ติดอาวุธให้กับคนในองค์กร อ้างอิงข้อมูลจาก Linkedinอันดับแรกเลยคือทักษะด้านการรับมือกับปัญหาแล้วกลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง (Resilience) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่สูงกว่าทักษะด้าน Digital & IT Literacy

9. คนทำงานที่เป็นพ่อแม่: ที่มีภาระเป็นบุตรหลานหรือผู้สูงอายุในครอบครัว ต้องการองค์กรที่มองเขาเป็นคนที่ยังต้องรับผิดชอบการดูแลคนในครอบครัว จากรายงานของ McKinsey พบว่าประเด็นดังกล่าวเป็นโจทย์สำคัญที่หลาย ๆ องค์กรต้องหันมาสนใจการออกแบบการจ้างงาน เพื่อให้คนผสมผสานชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างราบลื่นลงตัวมากขึ้น

 

ข้อมูลต่างๆถือว่าเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปต่อยอดได้ทาง สสส.หวังว่าองค์กรต่างๆนั้นนำข้อมูลที่เป็นทั้งความรู้และแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะในองค์กรไปพัฒนาทั้งด้านศักยภาพขององค์กร หรือบุคลากรขององค์กร

ในอนาคตให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

เรียบเรียงจากคำกล่าว นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส ในงานมหกรรม Happy Variety Expo 2022 : Camping Fair Share Happiness สร้างความสุขหลากสไตล์

ด้วยองค์กรต้นแบบและภาคีเครือข่าย สสส. วันที่ 19 กันยายน 2565