HR กับการดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน

27/01/2023 Happy8workplace Happy Body 7,797
Share:

ในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่าจากรูปแบบการทำงานที่ปรับเปลี่ยน จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และจากสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด 19 ทำให้ผู้คนมี ภาวะเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า และดูจะเป็นปัญหาสุขภาพทางใจที่คนส่วนใหญ่ต้องเผชิญ ดังนั้นก็คงจะดีถ้าที่ทำงานมีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพใจของพนักงานควบคู่ไปกับสุขภาพกาย เพราะหากพนักงานมีสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลงด้วย

 

ปัจจุบันหลายๆ องค์กรเริ่มเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือพนักงานด้านจิตใจและปัญหาส่วนตัว เพื่อไม่ให้กระทบงาน โดยกำหนดเป็นสวัสดิการพนักงานนอกเหนือจากการคุ้มครองสุขภาพด้านร่างกาย เช่น จัดหานักจิตวิทยาให้คำปรึกษาเข้าให้คำปรึกษาพนักงานอย่างสม่ำเสมอ หรือการจัด Group Counseling ที่เป็นกิจกรรมเพื่อสร้าง community ของเพื่อนช่วยเพื่อนในที่ทำงาน

 

ลองมาดูกันว่า ฝ่าย HR หรือฝ่ายบุคคล จะมีแนวทางในการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานในองค์กรได้อย่างไรบ้าง

 

1. ให้ความสำคัญกับ work-life balance

การที่พนักงานรู้สึกว่าสมดุลในการใช้ชีวิตส่วนตัวกับชีวิตการทำงานไม่ดีเพียงพอจะเกิดปัญหาต่างๆมากมายตามมา และที่สำคัญก็คือเรื่องของสุขภาพจิตพนักงาน ดังนั้น HR เองสามารถทำให้ work-life balance ดีขึ้นได้ เช่น ยืดหยุ่นเวลาเข้า-ออกงาน ,จัดโซนพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้พนักงานรู้สึก Relax มากขึ้นเวลาอยู่ที่ทำงาน

 

2. ส่งเสริมเรื่องการพูดคุยกันให้มากขึ้น

มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมและแน่นอนว่าคุณเองก็คงจะรู้สึกดีไม่น้อย เมื่อมีใครพูดคุยกับคุณและถามคำถามต่างๆนอกเหนือไปจากเรื่องงานบ้าง ลองจัด session เบาๆที่ไม่เกี่ยวกับกับเรื่องงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือถ้าให้ดีอาจจะจัดที่ความถี่มากกว่านั้น โดยอาจจะเป็นการแชร์กันในเนื้อหาเบาๆที่เข้าถึงกันได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเป้าหมายและความฝันนอกเหนือจากการทำงาน งานอดิเรกที่ชอบทำ หรือเรื่องอื่นๆที่อยากเปิดใจคุยกัน

 

3. คุยแบบตัวต่อตัว

บางทีปัญหาส่วนตัวของพนักงานก็ไม่อยากให้เพื่อนร่วมงานรับรู้ เริ่มจาก HR ควรเรียกคุยแบบ ตัวต่อตัว ถามให้กระจ่างว่าเกิดอะไรขึ้น อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ไม่มีความสุขในที่ทำงานส่งผลให้กระทบจิตใจเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน สภาพแวดล้อม คุยกันแบบสบาย ๆ ปราศจากความกดดันทั้งสิ้น เพื่อให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่อยากจะเล่าออกมาเอง

 

4. เข้าใจให้มากขึ้น และยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้

แน่นอนว่าบริษัทนั้นย่อมมีกฎในการทำงานและอยู่ร่วมกัน แม้ว่า HR จะต้องคอยดูแลพนักงานให้อยู่ในกรอบ แต่คุณก็สามารถที่จะใส่ความเป็นเพื่อน ความเข้าใจต่างๆไปพร้อมๆกับการทำตามกฎได้ ในบางสถานการณ์ที่ต้องอาศัยความยืดหยุ่นคุณก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม และหากพนักงานคนใดกำลังต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตแล้วล่ะก็ คุณในฐานะ HR ก็ควรที่จะทำความเข้าใจ และทำให้แน่ใจว่าในที่ทำงานจะไม่มีใครที่พูดถึงเรื่องพวกเขาในทางที่แย่ๆ และอาจจะช่วยในเรื่องของโปรแกรมความช่วยเหลือที่ช่วยให้พนักงานผ่านพ้นเรื่องนี้ไปได้

 

การจัดการความเครียดเป็นเรื่องส่วนบุคคลก็จริง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความเครียดส่วนใหญ่มักมาจากที่ทำงาน คงจะดีถ้าองค์กรมีส่วนช่วยลดความเครียดลง ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกที่จะอยากทำงานในองค์กรแบบนี้และถ้าพนักงานมีความสุขงานที่ออกมาก็จะดีขึ้นอีกด้วย 

 

ที่มา

 https://happyworkapp.com/th/blog-detail/knowledge/32-Mental-Health-เรื่องไม่เล็กที่-HR-ไม่ควรมองข้าม-ถ้าอยากให้พนักงานมีความสุข

https://www.myempeo.com/.../how-hr-can-help-with.../

https://www.tnnthailand.com/news/health/104539/